วันศุกร์ที่ 4 กันยายน พ.ศ. 2558

บทที่10 ศาสนาสำคัญในประเทศไทย

ศาสนาสำคัญในประเทศไทย
 แม้คนไทยส่วนใหญ่จะนับถือพระพุทธศาสนา แต่ประเทศไทยเป็นดินแดนเสรี ประชาชนได้รับสิทธิที่จะนับถือศาสนาใดๆก็ได้ตราบเท่าที่ไม่ไปละเมิดสิทธิของผู้อื่น
 อย่างไรก็ตาม ความแตกต่างทางศาสนาไม่เคยก่อให้เกิดปัญหาที่ร้ายแรงในประเทศไทยศาสนิกชนไม่ว่าจะนับถือ อ่านเพิ่มเติม

บทที่9 ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับศาสนา

ความรู้เกี่ยวกับศาสนา



   ศาสนาเป็นสิ่งยึดเหนี่ยวจิตใจและเป็นแนวทางให้มนุษย์สามารถปฏิบัติตนได้อย่างถูกต้อง แม้แต่ละศาสนาจะมีมูลเหตุการเกิดที่ต่างกัน แต่ก็ล้วนมีประโยชน์ต่อการดำเนินชีวิตของมนุษย์เหมือนกัน ดังนั้นจึงเป็นสิ่งสำคัญสำหรับมนุษย์ที่จะเรียนรู้และทำความเข้าใจเกี่ยวกับศาสนาเพื่อจะได้สามารถนำมาประยุกต์ใช้ให้เกิดประโยชน์ทั้งต่อตนเองและสังคม อ่านเพิ่มเติม

บทที่8 หน้าที่ละมารยาทชาวพุทธ

1. หน้าที่ชาวพุทธ
ชาวพุทธ มีหน้าที่มากมายหลายประการที่จะต้องศึกษาเรียนรู้ ปฏิบัติ เพื่อที่จะรำลึกถึงพระคุณของพระพุทธเจ้า พระธรรม พระสงฆ์ และเพื่อทำนุบำรุงอุปถัมภ์ สืบทอดพระพุทธศาสนาให้เจริญรุ่งเรืองตลอดไป
1.1 หน้าที่และบทบาทของพระภิกษุสามเณร
 พระนักเทศน์ ได้แก่ พระภิกษุที่ปฏิบัติหน้าที่  อ่านเพิ่มเติม


บทที่7 พุทธสาวก พุทธสาวิกา และศาสนิกชนตัวอย่าง

1.พระนางมัลลิกา



พระนางมัลลิกา ทรงเป็นธิดาของช่างทำดอกไม้   มีหน้าที่ออกไปเก็บดอกไม้ในสวนเพื่อนำมาให้บิดาทำพวงมาลัยทุกวันเพื่อไว้ขายเป็นประจำ  นางได้ถวายดอกไม้และได้ฟังพระธรรมเทศนาจากพระพุทธเจ้าจนได้บรรลุโสดาปัตติผลเป็นพระอริยบุคคลตั้งแต่อายุยังน้อย อ่านเพิ่มเติม

บทที่6 การบริหารจิตละเจริญปัญญา

  การบริหารจิต เป็นการฝึกฝนอบรมจิตใจให้ดีงาม นุ่มนวล มีความหนักแน่นมั่นคง แข็งแกร่ง ผ่อนคลาย และสงบสุข ซึ่งมีการฝึกเพื่อให้บรรลุผลดังกล่าวมากมายหลายวิธี ส่วนการเจริญปัญญานั้น คือการฝึกให้รู้จักคิด อย่างที่เรียกว่า คิดเป็น แก้ปัญหาเป็นนั่นเอง การบริหารจิต เป็นการฝึกจิตให้เป็นสมาธิ เรียกว่า สมาธิภาวนา ส่วนการเจริญปัญญาคือ การฝึกให้เกิดปัญญาที่เรียกว่า อ่านเพิ่มเติม

บทที่5 พระไตรปิฎกและพุทธศาสนสุภาษิต

ในการศึกษาพระไตรปิฏก จำเป็นต้องศึกษาคำศัพท์ทางพระพุทธศานาที่ปรากฏอยู่ในหลักธรรมต่างๆ ซึ่งควรรู้และทำความเข้าใจให้ถูกต้อง นอกจากนี้ยังมีพุทธศานสุภาษิตที่ดีและมีประโยชน์อยู่เป็นจำนวนมาก ซึ่งสุภาษิตเหล่านี้จะช่วยเตือนสติให้เราไม่หลงผิด ช่วยชี้แนะแนวทางที่ดีในการดำเนินชีวิตจึงสมควรอย่างยิ่งที่พุทธศาสนิกชนจะเรียนรู้และทำความเข้าใจ เพื่อนำไปเป็นหลักในการดำเนินชีวิตที่ถูกต้อง อ่านเพิ่มเติม


บทที่4 หลักธรรมทางพระพุทธศาสนา

สาระสำคัญ  พระพุทธศาสนาเป็นศาสนาที่บังเกิดขึ้นเพื่อช่วยเหลือมนุษย์ในโลกนี้  ให้หลุดพ้นจากความทุกข์ เพราะมนุษย์ต้องอยู่เป็นกลุ่มในสังคมที่ทุกคนยอมรับว่าเป็นสังคมที่มีความเจริญรุ่งเรือง พียบพร้อมไปด้วยอุปกรณ์อำนวยความสะดวกสบายในการดำรงชีพ   แต่ขณะเดียวกันก็เกิดความไม่สงบขาดความมั่นคงด้านจิตใจขาดหลักที่พึ่งทางใจทำให้มีปัญหาต่อการดำรงชีวิตของตนเองและส่วนรวม อ่านเพิ่มเติม


บทที่ 3 วันสำคัญทางพระพุทธศาสนาและศาสนพิธี

  วันสำคัญทางพระพุทธศาสนา ระเบียบพิธี พิธีเวียนเทียน การปฏิบัติตนในวันมาฆบูชา วันวิสาขบูชา วันอัฏฐมีบูชา วันอาสาฬหบูชา วันสำคัญทางพระพุทธศาสนาเป็นวันที่ชาวพุทธทั่วโลกยอมรับนับถือกันว่ามีความสำคัญเกี่ยวข้องโดยตรงกับพระรัตนตรัย และเหตุการณ์สำคัญอื่น ๆ ในรอบหนึ่งปีกำหนดไว้ ๖ วัน คือ วันมาฆบูชา วันวิสาขบูชา 
อ่านเพิ่มเติม

บทที่ 2 พุทธประวัติและชาดก

ชาติตระกูล มีพระนามเดิมว่า สิทธัตถะเป็นราชโอรสของพระเจ้าสุทโธทนะ กับพระนางสิริมหามายา ประสูติ ที่สวนลุมพินีวัน ณ ใต้ต้นสาละ (ปัจจุบันคือ ต.รุมมินเด ประเทศเนปาล) พราหมณ์ทั้ง 8 ได้ทำนายว่า เจ้าชายมีลักษณะเป็นมหาบุรุษ คือ ถ้าดำรงตนในฆราวาสจะได้เป็นจักรพรรดิ ถ้าออกบวชจะได้เป็นศาสดาเอกของโลก แต่ โกณฑัญญะพราหมณ์ผู้อายุน้อยที่สุดในจำนวนนั้น ยืนยันว่า จะได้ออกบวชและตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้าแน่นอน อ่านเพิ่มเติม

             

บทที่ 1 ประวัติและความสำคัญของพระพุทธศาสนา

 พระพุทธศาสนา นอกจากจะเป็นศาสนาประจำชาติไทย และเป็นเอกลักษณ์ของชาติไทยแล้วพระพุทธศาสนายังเป็นรากฐานสำคัญของวัฒนธรรมไทยอีกด้วย จะเห็นได้จากวิถีชีวิตของคนไทยที่ผูกพันอยู่กับพระพุทธศาสนา ความคิดและกิจกรรมทุกด้านของชาติไทยล้วนผสมผสานอยู่ในพิธีกรรมทางพระพุทธศาสนา    พระพุทธศาสนาได้หล่อหลอมจิตชีวิตจิตใจและลักษณะนิสัยของคนไทย ให้เป็นผู้ที่มีจิตใจร่าเริงเบิกบาน อ่านเพิ่มเติม